วันศุกร์ที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2552
ส.16 03/09/52
- หาคำศัพท์เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์คนละ 10 คำแล้วท่องศัพท์ทีละคน
- Update Blog ให้เป็นปัจจุบัน
ส.14 20/08/52
ส.12 6/08/52
วันพฤหัสบดีที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2552
ส.10 16/07/52 ความจุของ Harddisk

วันพุธที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2552
ส.8 02/07/52 North Bridge (ทิศเหนือ) และ South Bridge (ทิศใต้)

ชิปเซ็ตประเภทนี้ มีหลักการทำงานที่พอจะอธิบายได้อย่างคร่าว ๆ ดังนี้ ก็คือ ตัวชิปเซ็ตที่เป็นแบบ North Bridge และ South Bridge จะมีอยู่ 2 ตัวด้วยกัน ตัวแรกจะทำหน้าที่เป็น North Bridge จะทำหน้าที่ติดต่อกับอุปกรณ์ที่มีความเร็วสูงทั้งหมดในเมนบอร์ด ซึ่งได้แก่ ซีพียู หน่วยความจำ(แรม) และการฟิกการ์ด
ตัวที่สองจะทำหน้าที่เป็น South Bridge จะทำหน้าที่ติดต่อกับอุปกรณ์ต่อพ่วงจำพวกฮาร์ดดิสก์ ซีดีรอมไดรฟ์และ South Bridge จะมีระบบบัสแบบ PCI ขนาด 32 บิต ความเร็ว 33 MHz เป็นตัวเชื่อมต่อการทำงาน ซึ่งหมายความว่าชิปเซ็ต North Bridge และ South Bridge นั้นสามารถถ่ายโอนข้อมูลระหว่างกันได้ที่ความเร็วสูงสุดถึง 132 MB./Sec
วันพุธที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2552
ส.7 25/06/52HardDisk

พบในกรณีที่ใช้คอมพิวเตอร์รุ่นเก่า และผู้ใช้ซื้อฮาร์ดดิสก์แบบ LBA มาใช้งาน ซึ่งอาจเป็นฮาร์ดดิสก์ขนาดใหญ่กว่า 1 จิกะไบต์ ก่อนใช้ต้องหายูทิลิตี้ช่วย เช่น EZ Drive หรือหากไม่สามารถใช้ได้ เช่นกรณีที่นำฮาร์ดดิสก์ดังกล่าวไปใช้กับ OS รุ่นเก่า ก็อาจแบ่งพาร์ติชั่นฮาร์ดดิสก์ ให้มีขนาดตามข้อกำหนดของไบออสหรือ OS ซึ่งกรณีนี้จะทำให้เสียพื้นที่ฮาร์ดดิสก์ไป โดยเปล่าประโยชน์
2. ฮาร์ดดิสก์ไม่บูตเมื่อกำหนดโหมดเป็น LBA
พบได้กรณีที่ใช้ฮาร์ดดิสก์โหมดปกติ (Nornal Mode) กับเมนบอร์ดรุ่นใหม่ซึ่งมีฟังก์ชัน Harddisk Auto Detect ซึ่งหลังจากตรวจหาฮาร์ดดิสก์พบมักกำหนดเป็นโหมด LBA ซึ่งแท้จริงแล้วเป็นโหมดธรรมดา หากปล่อยให้เป็น LBA จะไม่สามารถบูตคอมพิวเตอร์ได้ กรณีตั้งเป็นฮาร์ดดิสก์หลัก (Master) หรือการอ่านข้อมูลผิดพลาดกรณีกำหนดเป็นฮาร์ดดิสก์รอง (Slave) เพื่อเก็บข้อมูล แก้ไขโดยกำหนดค่าในไบออส (BIOS) ให้เป็นโหมดที่ถูกต้อง
3. Format ฮาร์ดดิสก์แล้วได้ขนาดไม่เกิน 540 MB ทั้งที่ความจริงฮาร์ดดิสก์มีความจุ 1.2 GB
เกิดขึ้นในกรณีตรงกันข้ามกับปัญหาในข้อ 2 คือ เมื่อใช้ฟังก์ชั่น Harddisk Auto Detect ในไบออส ได้กำหนดโหมดฮาร์ดดิสก์เป็น Normal ทั้งที่ความจริงเป็น LBA (สังเกตว่าขนาดของฮาร์ดดิสก์ที่ปรากฎในไบออสเป็นขนาด 1.2 GB จริง ถึงแม้จะเป็น Normal Mode ก็ตาม) ทำให้เมื่อ Format แล้วขนาดของฮาร์ดดิสก์ได้เท่ากับ 540 MB ถึงแม้ว่าเวลากำหนดพาร์ติชั่น อาจกำหนดได้ขนาดมากกว่านี้ก็ตาม การแก้ไขทำได้โดยการลบพาร์ติชั่นออกทั้งหมด (กรณีกำหนดพาร์ติชั่นและติดตั้งซอฟต์แวร์ลงไปแล้ว จะต้องทำใหม่ทั้งหมด ถ้าหากมีข้อมูลในฮาร์ดดิสก์อยู่ให้ สำรองข้อมูลไว้ก่อน) แล้วกำหนดโหมดในไบออสให้ถูกต้อง แล้วจึงสร้างพาร์ติชั่นและ Format ใหม่
4.ซื้อฮาร์ดดิสก์มาขนาดใหญ่ ๆ แต่หลังจากทำการ Format แล้วเครื่องมองเห็นแค่ 2G
อย่างแรกให้ดูก่อนเลยว่า ใช้ระบบ FAT16 หรือ FAT32 ถ้าหากเป็น FAT16 จะมองเห็นได้สูงสุดแค่ 2G ต่อ 1 Partition เท่านั้น ต้องใช้แบบ FAT32 ครับ วิธีการคือใช้ FDISK ของแผ่น Startup Disk WIN98 มาทำ FDISK (ถ้าเป็น FDISK จาก DOS หรือ WIN95 จะเป็นแบบ FAT16)
5.ไม่สามารถใช้งาน ฮาร์ดดิสก์ได้มากกว่า 8G. สำหรับเมนบอร์ดรุ่นเก่า ๆ
เกิดจากที่ BIOS ไม่สามารถรู้จักกับ ฮาร์ดดิสก์ที่มีขนาดใหญ่ ๆ ได้ จะเป็นกับเมนบอร์ดรุ่นเก่า ๆ ที่เคยพบมาอีกแบบคือ Windows มองเห็นเกิน 8G แต่ไม่สามารถใช้งานได้ จะบอกว่าฮาร์ดดิสก์ของเราเต็ม วิธีแก้ไขอย่างแรกคือ ให้ลองทำการ Update BIOS เป็น Version ใหม่ดูก่อน (ถ้าหาได้) หรือไม่ก็หา Download โปรแกรมสำหรับจัดการพื้นที่ฮาร์ดดิสก์ จากเวปไซต์ของผู้ผลิตฮาร์ดดิสก์ยี่ห้อนั้น ๆ หรืออาจจะใช้วิธีการแบ่ง Partition ให้มีขนาดใหญ่ไม่เกิน 8G ต่อ 1 Partition ก็อาจจะช่วยได้
6.ซื้อฮาร์ดดิสก์มาขนาดใหญ่ ๆ แต่ไม่สามารถทำ FDISK แบ่งใช้งานได้ หรือทำแล้วเห็นไม่ครบ
ปัญหานี้ มักจะพบกับฮาร์ดดิสก์ที่มีขนาดใหญ่กว่า 64G. ขึ้นไป ปัญหาเกิดจากโปรแกรม FDISK ของ Windows 98 ไม่สามารถ จัดการกับฮาร์ดดิสก์ ที่มีขนาดใหญ่กว่า 64G. ได้ ต้องไปทำการดาวน์โหลด Free FDISK ตัวใหม่มาใช้งานแทน หรือโหลดตัวแก้ไขจาก Microsoft หรือไม่ก็ใช้ FDISK ที่ได้จาก Windows Me แทนครับ อีกวิธีหนึ่งคือใช้แผ่นดิสก์ ที่ทำมาจากโปรแกรม Partition Magic ก็ได้
วันพฤหัสบดีที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2552
ส.6 18/06/52ขนมไทย

ในสมัยโบราณคนไทยจะทำขนมเฉพาะวาระสำคัญเท่านั้น เป็นต้นว่างานทำบุญ เทศกาลสำคัญ หรือต้อนรับแขกสำคัญ เพราะขนมบางชนิดจำเป็นต้องใช้กำลังคนอาศัยเวลาในการทำพอสมควร ส่วนใหญ่เป็น ขนมประเพณี เป็นต้นว่า ขนมงาน เนื่องในงานแต่งงาน ขนมพื้นบ้าน เช่น ขนมครก ขนมถ้วย ฯลฯ ส่วนขนมในรั้วในวังจะมีหน้าตาจุ๋มจิ๋ม ประณีตวิจิตรบรรจงในการจัดวางรูปทรงขนมสวยงาม
ขนมไทยที่นิยมทำกันทุกๆ ภาคของประเทศไทย ในพิธีการต่างๆ เนื่องในการทำบุญเลี้ยงพระ ก็คือขนมจากไข่ และมักถือเคล็ดจากชื่อและลักษณะของขนมนั้นๆ งานศิริมงคลต่างๆ เช่น งานมงคลสมรส ทำบุญวันเกิด หรือทำบุญขึ้นบ้านใหม่ ส่วนใหญ่ก็จะมีการเลี้ยงพระกับแขกที่มาในงาน เพื่อเป็นศิริมงคลของงานขนมก็จะมีฝอยทอง เพื่อหวังให้อยู่ด้วยกันยืดยาว มีอายุยืน ขนมชั้นก็ให้ได้เลื่อนขั้นเงินเดือน ขนมถ้วยฟูก็ขอให้เฟื่องฟู ขนมทองเอกก็ขอให้ได้เป็นเอก เป็นต้น
สมัยรัตนโกสินทร์ จดหมายเหตุความทรงจำของกรมหลวงนรินทรเทวี กล่าวไว้ว่าในงานสมโภชพระแก้วมรกตและฉลองวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ได้มีเครื่องตั้งสำรับหวานสำหรับพระสงฆ์ 2,000 รูป ประกอบด้วย ขนมไส้ไก่ ขนมฝอย ข้าวเหนียวแก้ว ขนมผิง กล้วยฉาบ ล่าเตียง หรุ่ม สังขยา ฝอยทอง และขนมตะไล
ในสมัยรัชกาลที่ 5 มีการพิมพ์ตำราอาหารออกเผยแพร่ รวมถึงตำราขนมไทยด้วย จึงนับได้ว่าวัฒนธรรมขนมไทยมีการบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรครั้งแรก ตำราอาหารไทยเล่มแรกคือแม่ครัวหัวป่าก์ เขียนโดยท่านผู้หญิงเปลี่ยน ภาสกรวงศ์ ในหนังสือเล่มนี้ มีรายการสำรับของหวานเลี้ยงพระได้แก่ ทองหยิบ ฝอยทอง ขนมหม้อแกง ขนมหันตรา ขนมถ้วยฟู ขนมลืมกลืน ข้วเหนียวแก้ว วุ้นผลมะปราง
ในสมัยต่อมาเมื่อการค้าเจริญขึ้นในตลาดมีขนมนานาชนิดมาขาย ทั้งขายอยู่กับที่ แบกกระบุง หาบเร่ และมีการปรับปรุงการบรรจุหีบห่อไปตามยุคสมัย เช่นในปัจจุบันมีการบรรจุในกล่องโฟมแทนการห่อด้วยใบตองในอดีต
แบ่งตามวิธีการทำให้สุกได้ดังนี้
ขนมที่ทำให้สุกด้วยการกวน ส่วนมากใช้กระทะทอง กวนตั้งแต่เป็นน้ำเหลวใสจนงวด แล้วเทใส่พิมพ์หรือถาดเมื่อเย็นจึงตัดเป็นชิ้น เช่น ตะโก้ ขนมลืมกลืน ขนมเปียกปูน ขนมศิลาอ่อน และผลไม้กวนต่างๆ รวมถึง ข้าวเหนียวแดง ข้าวเหนียวแก้ว และกะละแม
ขนมที่ทำให้สุกด้วยการนึ่ง ใช้ลังถึง บางชนิดเทส่วนผสมใส่ถ้วยตะไลแล้วนึ่ง บางชนิดใส่ถาดหรือพิมพ์ บางชนิดห่อด้วยใบตองหรือใบมะพร้าว เช่น ช่อม่วง ขนมชั้น ข้าวต้มผัด สาลี่อ่อน สังขยา ขนมกล้วย ขนมตาล ขนมใส่ไส้ ขนมเทียน ขนมน้ำดอกไม้
ขนมที่ทำให้สุกด้วยการเชื่อม เป็นการใส่ส่วนผสมลงในน้ำเชื่อมที่กำลังเดือดจนสุก ได้แก่ ทองหยอด ทองหยิบ ฝอยทอง เม็ดขนุน กล้วยเชื่อม จาวตาลเชื่อม
ขนมที่ทำให้สุกด้วยการทอด เป็นการใส่ส่วนผสมลงในกระทะที่มีน้ำมันร้อนๆ จนสุก เช่น กล้วยทอด ข้าวเม่าทอด ขนมกง ขนมค้างคาว ขนมฝักบัว ขนมนางเล็ด
ขนมที่ทำให้สุกด้วยการนึ่งหรืออบ ได้แก่ ขนมหม้อแกง ขนมหน้านวล ขนมกลีบลำดวน ขนมทองม้วน สาลี่แข็ง ขนมจ่ามงกุฏ นอกจากนี้ อาจรวม ขนมครก ขนมเบื้อง ขนมดอกลำเจียกที่ใช้ความร้อนบนเตาไว้ในกลุ่มนี้ด้วย
ขนมที่ทำให้สุกด้วยการต้ม ขนมประเภทนี้จะใช้หม้อหรือกระทะต้มน้ำให้เดือด ใส่ขนมลงไปจนสุกแล้วตักขึ้น นำมาคลุกหรือโรยมะพร้าว ได้แก่ ขนมถั่วแปบ ขนมต้ม ขนมเหนียว ขนมเรไร นอกจากนี้ยังรวมขนมประเภทน้ำ ที่นิยมนำมาต้มกับกะทิ หรือใส่แป้งผสมเป็นขนมเปียก และขนมที่กินกับน้ำเชื่อและน้ำกะทิ เช่น กล้วยบวชชี มันแกงบวด สาคูเปียก ลอดช่อง ซ่าหริ่ม
วันพุธที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2552
ส.5 11/6/52 รหัสascii ชื่อและนามสกุล
100000100111001010101010111010101000001000101010000011101000001000101010000011101000001001110010
PATPANWAN
000011101000001000101010000011101000001001110010111010101000001001110010
อนุวัฒน์
1011001110011101000110111110001110001011010011011001110100110111
แป๊ะพรรณวรรณ
100001111101110101010111000010110111110111000011110000111100110111100011110000111100001111001101