วันพฤหัสบดีที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

ส.10 16/07/52 ความจุของ Harddisk


ฮาร์ดดิสก์ (hard disk) หรือ จานบันทึกแบบแข็ง (ศัพท์บัญญัติ) คือ อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่บรรจุข้อมูลแบบไม่ลบเลือน มีลักษณะเป็นจานโลหะที่เคลือบด้วยสารแม่เหล็กซึ่งหมุนอย่างรวดเร็วเมื่อทำงาน การติดตั้งเข้ากับตัวคอมพิวเตอร์สามารถทำได้ผ่านการต่อเข้ากับมาเธอร์บอร์ด(motherboard) ที่มีอินเตอร์เฟชแบบขนาน (PATA) , แบบอนุกรม (SATA) และแบบเล็ก (SCSI) ทั้งยังสามารถต่อเข้าเครื่องจากภายนอกได้ผ่านทางสายยูเอสบี, สายไฟร์ไวร์ของบริษัท Apple ที่เป็นที่รู้จักน้อยกว่า รวมไปถึงอินเตอร์เฟซอนุกรมแบบต่อนอก (eSATA) ซึ่งทำให้การใช้ฮาร์ดดิสก์ทำได้สะดวกยิ่งขึ้นเมื่อไม่มีคอมพิวเตอร์ถาวรเป็นของตนเอง- ขนาดความหนาขนาดความหนา 3.5 นิ้ว = 4 นิ้ว×1 นิ้ว×5.75 นิ้ว (101.6 มิลลิเมตร×25.4 มิลลิเมตร×146 มิลลิเมตร) = 376.77344cm³เป็นฮาร์ดดิสก์ สำหรับคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ desktop pc หรือคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ server ความเร็วในการหมุนจาน 10,000 7,200 5,400 RPM ตามลำดับ โดยมีความจุในปัจจุบันตั้งแต่ 80 GB ถึง 1 TB- ขนาดความหนา 2.5 = 2.75 นิ้ว× 0.374–0.59 นิ้ว×3.945 นิ้ว (69.85 มิลลิเมตร×9.5–15 มิลลิเมตร×100 มิลลิเมตร) = 66.3575cm³-104.775cm³นิ้วเป็นฮาร์ดดิสก์ สำหรับคอมพิวเตอร์พกพา notebook , Laptop ,UMPC,Netbook, อุปกรณ์มัลติมีเดียพกพา ความเร็วในการหมุนจาน 5,400 RPM โดยมีความจุในปัจจุบันตั้งแต่ 60 GB ถึง 320 GBการเก็บข้อมูล ข้อมูลที่เก็บลงในฮาร์ดดิสก์จะอยู่บนเซกเตอร์และแทร็ก แทร็กเป็นรูปวงกลม ส่วนเซกเตอร์เป็นเสี้ยวหนึ่งของวงกลม อยู่ภายในแทร็กดังรูป แทร็กแสดงด้วยสีเหลือง ส่วนเซกเตอร์แสดงด้วยสีแดง ภายในเซกเตอร์จะมีจำนวนไบต์คงที่ ยกตัวอย่างเช่น 256 ถึง 512 ขึ้นอยู่กับว่าระบบปฏิบัติการของคอมพิวเตอร์จะจัดการแบ่งในลักษณะใด เซกเตอร์หลายๆ เซกเตอร์รวมกันเรียกว่า คลัสเตอร์ (Clusters) ขั้นตอน ฟอร์แมต ที่เรียกว่า การฟอร์แมตระดับต่ำ (Low -level format ) เป็นการสร้างแทร็กและเซกเตอร์ใหม่ ส่วนการฟอร์แมตระดับสูง (High-level format) ไม่ได้ไปยุ่งกับแทร็กหรือเซกเตอร์ แต่เป็นการเขียน FAT ซึ่งเป็นการเตรียมดิสก์เพื่อที่เก็บข้อมูลเท่านั้นการคำนวณความจุของฮาร์ดดิสก์ตัวอย่างที่ 1ถ้าฮาร์ดดิสก์มี 4 แพล็ตเตอร์ (แต่ละแพล็ตเตอร์บันทึกได้ 2 ด้าน) มี 1,024 ไซลินเดอร์ (หรือแทร็ก) และมี 63 เซกเตอร์ต่อแทร็ก (แต่ละเซกเตอร์มีขนาด 1,024 ไบต์) จะคำนวณความจุของฮาร์ดดิสก์ดังนี้จำนวนเซกเตอร์ต่อพื้นผิว = 1,024 แทร็ก x 63 เซกเตอร์ต่อแทร็ก = 64,512 ไบต์จำนวนเซกเตอร์ทั้งหมด = 64,152 เซกเตอร์ต่อพื้นผิว x 8 พื้นผิว = 516,096 เซกเตอร์ความจุฮาร์ดดิสก์ (ไบต์) = 516,096 เซกเตอร์ x 1,024 ไบต์ต่อเซกเตอร์ = 528,482,304 ไบต์ความจุฮาร์ดดิสก์ (MB) = 528,482,304 / 1,048,576 = 504 เมกะไบต์ตัวอย่างที่ 2ความจุของฮาร์ดดิสก์สามารถคำนวณได้ โดยดูจากจำนวนแพลตเตอร์ จำนวน Track ซึ่งโดยปกติจะใช้จำนวน Cylinder แทนฮาร์ดดิสก์โดยปกติจะแบ่งให้ Cylinder ซึ่งมี 17 Sector แต่ละ Sector มีขนาด 512 byte ถ้ามี 2 แพลตเตอร์ ที่สามารถบันทึกข้อมูลได้ 2 ด้าน แต่ละด้านแบ่งเป็น 305 cylinder ดังนั้นความจุฮาร์ดดิสก์ = จำนวน Cylinder x จำนวน Sector x จำนวนด้าน x จำนวน byte ใน 1 sector= 305 cylinder x 17 sector x 4 side x 512 byte= 10,370 k= 10 M

วันพุธที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

ส.8 02/07/52 North Bridge (ทิศเหนือ) และ South Bridge (ทิศใต้)



ชิปเซ็ตประเภทนี้ มีหลักการทำงานที่พอจะอธิบายได้อย่างคร่าว ๆ ดังนี้ ก็คือ ตัวชิปเซ็ตที่เป็นแบบ North Bridge และ South Bridge จะมีอยู่ 2 ตัวด้วยกัน ตัวแรกจะทำหน้าที่เป็น North Bridge จะทำหน้าที่ติดต่อกับอุปกรณ์ที่มีความเร็วสูงทั้งหมดในเมนบอร์ด ซึ่งได้แก่ ซีพียู หน่วยความจำ(แรม) และการฟิกการ์ด
ตัวที่สองจะทำหน้าที่เป็น South Bridge จะทำหน้าที่ติดต่อกับอุปกรณ์ต่อพ่วงจำพวกฮาร์ดดิสก์ ซีดีรอมไดรฟ์และ South Bridge จะมีระบบบัสแบบ PCI ขนาด 32 บิต ความเร็ว 33 MHz เป็นตัวเชื่อมต่อการทำงาน ซึ่งหมายความว่าชิปเซ็ต North Bridge และ South Bridge นั้นสามารถถ่ายโอนข้อมูลระหว่างกันได้ที่ความเร็วสูงสุดถึง 132 MB./Sec

วันพุธที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

ส.7 25/06/52HardDisk


1. เมนบอร์ดไม่สนับสนุนฮาร์ดดิสก์แบบ LBA Mode
พบในกรณีที่ใช้คอมพิวเตอร์รุ่นเก่า และผู้ใช้ซื้อฮาร์ดดิสก์แบบ LBA มาใช้งาน ซึ่งอาจเป็นฮาร์ดดิสก์ขนาดใหญ่กว่า 1 จิกะไบต์ ก่อนใช้ต้องหายูทิลิตี้ช่วย เช่น EZ Drive หรือหากไม่สามารถใช้ได้ เช่นกรณีที่นำฮาร์ดดิสก์ดังกล่าวไปใช้กับ OS รุ่นเก่า ก็อาจแบ่งพาร์ติชั่นฮาร์ดดิสก์ ให้มีขนาดตามข้อกำหนดของไบออสหรือ OS ซึ่งกรณีนี้จะทำให้เสียพื้นที่ฮาร์ดดิสก์ไป โดยเปล่าประโยชน์

2. ฮาร์ดดิสก์ไม่บูตเมื่อกำหนดโหมดเป็น LBA
พบได้กรณีที่ใช้ฮาร์ดดิสก์โหมดปกติ (Nornal Mode) กับเมนบอร์ดรุ่นใหม่ซึ่งมีฟังก์ชัน Harddisk Auto Detect ซึ่งหลังจากตรวจหาฮาร์ดดิสก์พบมักกำหนดเป็นโหมด LBA ซึ่งแท้จริงแล้วเป็นโหมดธรรมดา หากปล่อยให้เป็น LBA จะไม่สามารถบูตคอมพิวเตอร์ได้ กรณีตั้งเป็นฮาร์ดดิสก์หลัก (Master) หรือการอ่านข้อมูลผิดพลาดกรณีกำหนดเป็นฮาร์ดดิสก์รอง (Slave) เพื่อเก็บข้อมูล แก้ไขโดยกำหนดค่าในไบออส (BIOS) ให้เป็นโหมดที่ถูกต้อง

3. Format ฮาร์ดดิสก์แล้วได้ขนาดไม่เกิน 540 MB ทั้งที่ความจริงฮาร์ดดิสก์มีความจุ 1.2 GB
เกิดขึ้นในกรณีตรงกันข้ามกับปัญหาในข้อ 2 คือ เมื่อใช้ฟังก์ชั่น Harddisk Auto Detect ในไบออส ได้กำหนดโหมดฮาร์ดดิสก์เป็น Normal ทั้งที่ความจริงเป็น LBA (สังเกตว่าขนาดของฮาร์ดดิสก์ที่ปรากฎในไบออสเป็นขนาด 1.2 GB จริง ถึงแม้จะเป็น Normal Mode ก็ตาม) ทำให้เมื่อ Format แล้วขนาดของฮาร์ดดิสก์ได้เท่ากับ 540 MB ถึงแม้ว่าเวลากำหนดพาร์ติชั่น อาจกำหนดได้ขนาดมากกว่านี้ก็ตาม การแก้ไขทำได้โดยการลบพาร์ติชั่นออกทั้งหมด (กรณีกำหนดพาร์ติชั่นและติดตั้งซอฟต์แวร์ลงไปแล้ว จะต้องทำใหม่ทั้งหมด ถ้าหากมีข้อมูลในฮาร์ดดิสก์อยู่ให้ สำรองข้อมูลไว้ก่อน) แล้วกำหนดโหมดในไบออสให้ถูกต้อง แล้วจึงสร้างพาร์ติชั่นและ Format ใหม่

4.ซื้อฮาร์ดดิสก์มาขนาดใหญ่ ๆ แต่หลังจากทำการ Format แล้วเครื่องมองเห็นแค่ 2G
อย่างแรกให้ดูก่อนเลยว่า ใช้ระบบ FAT16 หรือ FAT32 ถ้าหากเป็น FAT16 จะมองเห็นได้สูงสุดแค่ 2G ต่อ 1 Partition เท่านั้น ต้องใช้แบบ FAT32 ครับ วิธีการคือใช้ FDISK ของแผ่น Startup Disk WIN98 มาทำ FDISK (ถ้าเป็น FDISK จาก DOS หรือ WIN95 จะเป็นแบบ FAT16)

5.ไม่สามารถใช้งาน ฮาร์ดดิสก์ได้มากกว่า 8G. สำหรับเมนบอร์ดรุ่นเก่า ๆ
เกิดจากที่ BIOS ไม่สามารถรู้จักกับ ฮาร์ดดิสก์ที่มีขนาดใหญ่ ๆ ได้ จะเป็นกับเมนบอร์ดรุ่นเก่า ๆ ที่เคยพบมาอีกแบบคือ Windows มองเห็นเกิน 8G แต่ไม่สามารถใช้งานได้ จะบอกว่าฮาร์ดดิสก์ของเราเต็ม วิธีแก้ไขอย่างแรกคือ ให้ลองทำการ Update BIOS เป็น Version ใหม่ดูก่อน (ถ้าหาได้) หรือไม่ก็หา Download โปรแกรมสำหรับจัดการพื้นที่ฮาร์ดดิสก์ จากเวปไซต์ของผู้ผลิตฮาร์ดดิสก์ยี่ห้อนั้น ๆ หรืออาจจะใช้วิธีการแบ่ง Partition ให้มีขนาดใหญ่ไม่เกิน 8G ต่อ 1 Partition ก็อาจจะช่วยได้

6.ซื้อฮาร์ดดิสก์มาขนาดใหญ่ ๆ แต่ไม่สามารถทำ FDISK แบ่งใช้งานได้ หรือทำแล้วเห็นไม่ครบ
ปัญหานี้ มักจะพบกับฮาร์ดดิสก์ที่มีขนาดใหญ่กว่า 64G. ขึ้นไป ปัญหาเกิดจากโปรแกรม FDISK ของ Windows 98 ไม่สามารถ จัดการกับฮาร์ดดิสก์ ที่มีขนาดใหญ่กว่า 64G. ได้ ต้องไปทำการดาวน์โหลด Free FDISK ตัวใหม่มาใช้งานแทน หรือโหลดตัวแก้ไขจาก Microsoft หรือไม่ก็ใช้ FDISK ที่ได้จาก Windows Me แทนครับ อีกวิธีหนึ่งคือใช้แผ่นดิสก์ ที่ทำมาจากโปรแกรม Partition Magic ก็ได้